วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 3

วัน พฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558


เริ่มการเรียนโดยปั้มใบมาเรียน ต่อมาคุณครูให้ทบทวนเพลงที่ได้ฝึกร้องเมื่อสัปดาห์ก่อน  ได้แก่เพลง 

                               - ตาดูหูฟัง
                               - จ้ำจี้ดอกไม้
                             - ดอกไม้ 
                               - นกเขาขัน 
                               - กินผักกัน

คุณครูสอนร้องเพลงใหม่ อีก 5 เพลง


คุณครูร้องเพลงให้ฟังเป็นตัวอย่าง แล้วให้นักศึกษาร้องตามให้ถูกจังหวะ ถูกคีย์ ได้แก่่

  1. เพลงดวงอาทิตย์
  2. เพลงดวงจันทร์
  3. เพลงรำวงดอกมะลิ
  4. เพลงดอกมะลิ
  5. เพลงดอกกุหลาบ

และคุณครูได้ให้แผ่น CD เพลง ที่ต้องใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัย ให้นักศึกษาได้นำไป 
ฝึกร้อง และใช้ในการทบทวน เพื่อนำมาสอบในรายวิชานี้ด้วย







ต่อมา เริ่มเข้าหลักวิชาการ ซึ่งวันนี้คุณครูสอนเกี่ยวกับหัวข้อ “แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย”

     วันนี้คุณครูมีเกมกิจกรรมมาให้นักศึกษาออกมาร่วมทำหน้าชั้นเรียน โดยให้นักศึกษา อาสาออกมาทำเอง มีชื่อกิจกรรมว่า “กิจกรรมลิ้นพันกัน” คือให้ออกมาอ่านคำ หรือประโยคที่คุณครูนำมาให้ และดิฉันก็ได้ไปร่วมทำกิจกรรมนี้ด้วย สนุกมาก ๆ  อีกทั้งยังได้ฝึกทักษะในการพูดออกเสียงอย่างชัดเจน รวดเร็วอีกด้วย



กิจกรรมสุดท้าย คือการร่วมกันแต่งนิทาน ในหัวข้อ “ผลไม้หลากสี” ที่พวกเราช่วยกันระดมความคิด และแบ่งกลุ่มกัน รับผิดชอบวาดภาพ ระบายสี จึงได้ผลงานดังนี้









ความรู้ที่ได้รับ
  • จากการเรียนเกี่ยวกับวิชาการ หัวข้อ “แนวคิดนักการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย” ทำให้รู้จักนักทฤษฎี  รวมถึงแนวคิดที่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย และแนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจธรรมชาติความแตกต่างของแต่ละบุคคลมากขึ้น
  •  ได้เรียนรู้เพลงที่สำหรับเด็กปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น และจากการทำกิจกรรมลิ้นพันกัน ทำให้รู้คำ หรือประโยคที่สามารถฝึกทักษะการพูดอย่างถูกต้อง และรวดเร็วขึ้น
  • จากกิจกรรมแต่งนิทาน ทำให้รู้ว่า นิทานสำหรับเด็กนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเนื้อเรื่องเยอะ เอาเพียงแต่พอเข้าใจ และให้เด็กได้วาดรูป ระบายสี ตามจินตนาการของตัวเด็กเอง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ แนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัย เพื่อทำให้มีความเข้าใจในความแตกต่างของแต่ละคน แต่ละช่วงวัย เมื่อเกิดปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้อย่างถูกวิธี
  • สามารถนำกิจกรรมเป็นความรู้ และเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้ เช่น การร้องเพลง พร้อมท่าประกอบ การแต่งนิทาน ระหว่างครูกับเด็ก  เพื่อเสริมทักษะภาษาและด้านความคิดสร้างสรรค์ การมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานของตนเอง 


การประเมินผล

ประเมินตนเองตนเองตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ทั้งออกไปหน้าชั้นเรียน และการทำงานเป็นกลุ่ม ทำหน้าที่ของตนเองที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มที่ มีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดด้านการพัฒนาทาง ภาษา และได้ฝึกทักษะการพูด ออกเสียงอย่างถูกต้อง

ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ มีความตั้งใจ ทั้งการเรียน และให้ความร่วมมือ ช่วยกันระดมความคิด   จินตนาการในการทำงาน มีความสุขในเรียนและทำกิจกรรม เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การเรียนไม่เครียด และน่าเบื่อ

ประเมินคุณครูคุณครูมีการเตรียมการสอนมาดีมาก ทำให้การเรียนราบรื่น เป็นขั้นเป็นตอนและกิจกรรมต่าง ๆ ที่คุณครูนำมาสอน ก็มีความสนุกสนาน รวมทั้งได้ความรู้ จากการเรียนและทำกิจกรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น