วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 4


วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 13.30-17.30 น.




วันนี้ตัวปั้มเช็คชื่อเป็นรูปเค้กด้วยนะ 















เมื่อเพื่อนในห้องเริ่มมีอาการง่วง  คุณครูก็ได้จัดกิจกรรมสนุกๆ เพื่อให้นักศึกษามีความกระตือรือร้น 
และมีสมาธิในการเรียนมากขึ้น หากใครทำผิดกติกาก็ให้ออกมาเต้นหน้าชั้นเรียน  เพื่อนบางคนออกไป
เต้นหน้าชั้นเรียน 2 -3 รอบเลยค่ะ5555










แล้วคุณครูก็เริ่มสอนเนื้อหาเรื่อง แนวทางการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย 
และคุณครูก็สอดแทรกความรู้ของนักทฤษฎีต่าง ๆ 


Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
       1.  มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา


                - นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
                - เสียง ไวยากรณ์ การประกอบคำเป็นวลี หรือประโยค
      2.  มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
                - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
                - การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
                - ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
      3.   มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
                - เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
                - การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
                - เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา



  • ต่อมาคุณครูให้นักศึกษาร้องเพลง/จับหรือสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตามเนื้อเพลง,
          การอ่านคำตามภาพ 
  • การสอนเด็กปฐมวัยแต่ละสถานศึกษา ก็มีความแตกต่างกันไป ได้แก่ สอนเด็กให้คัดพยัญ
         ชนะไทยตามลำดับ ตั้งแต่ ก-ฮ หรือ อาจจะสอนเด็กเขียนตัวอักษรที่ง่าย ๆ ก่อน ค่อยไปเขียนตัวอักษร
         ที่ยากขึ้นตามลำดับ เช่น ให้เด็กฝึกเขียนพยัญชนะไทยตัวที่ไม่มีหัวก่อน เป็นต้น  




  • นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คำพูด หรือภาษาสำหรับคุณครู ในการที่จะพูดกับเด็กปฐมวัยเพื่อให้การสื่อสารมีผลดีมากขึ้น เพราะเด็กปฐมวัยจะชอบคุณครูที่พูดเพราะ และไม่ควรพูดคำว่า 
           "ไม่ หรือ อย่า" กับเด็ก ๆ อาจจะมีวิธีพูดที่ดีกว่าดังภาพตัวอย่าง


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


  • นำคำพูดเชิงบวก หรือภาษาสำหรับครูที่จะใช้กับเด็ก ไปฝึกพูดเพื่อให้เกิดมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก
  • สามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็กได้ ในการสื่อสารหรือการใช้ภาษาที่ถูกต้อง
  • ในการทำงานทุกครั้ง ครูต้องสามารถเขียนบรรยายใต้ผลงานเด็กได้ โดยคำบรรยายนั้นต้องออกมาจากความคิดหรือคำพูดเด็ก
  • เมื่อรู้ว่า เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เป็นความรู้ว่า ควรจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละคนอย่างไร เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของเด็ก และทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเรียน รวมถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น



การประเมินผล

ประเมินตนเอง : ตนเองมีความตั้งใจในการเรียนมีความเข้าใจในบทเรียน ชอบทำกิจกรรมที่คุณครูจัดขึ้น และสนุกสนานกับารที่ได้ร้องเพลง 



ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน และทำกิจกรรม บรรยากาศการเรียนมีความสนุกสนาน เฮฮา มีเสียงหัวเราะ และช่วยเหลือกัน ทำให้เรียนอย่างมีความสุข ไม่น่าเบื่อ

ประเมินคุณครู: คุณครูมีการเตรียมความพร้อมในการสอนมาดีมาก ถึงแม้อากาศโดยรอบจะเหมาะสำหรับการพักผ่อนก็ตาม  ทำให้การเรียนและการทำกิจกรรมน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น